โรงพยาบาลศิครินทร์ ให้อะไรกับคนไข้บ้าง
โรงพยาบาลศิครินทร์ได้รับการรับรองมาตรฐานอะไรบ้างและมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกี่ท่าน
ที่Mor Dee, เราทำให้การได้รับข้อมูลและเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องง่าย. คุณสามารถ ค้นหา, เปรียบเทียบราคา, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, และ ทำการนัดหมาย สำหรับศัลยกรรมหรือการรักษาที่คุณสนใจได้ในที่เดียวกัน. เราทำให้คุณเข้าถึงสถานพยาบาลที่ดีที่สุดทั่วโลก, ให้คุณได้ประหยัดแรง ประหยัดเวลา ,และเป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย ฟรี, ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง, การันตี ไม่มีการบวกราคาเพิ่ม. แล้วคุณจะมัวรออะไร?
การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาการอักเสบ และมีอาการปวด ส่งผลต่อการเดิน การเคลื่อนไหวลำบาก โดยการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมเข้าไป โรคนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะพบในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อสะโพกหัก กระดูกพรุน หกล้ม หรือที่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อม อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็อาจพบในคนที่มีอายุน้อยได้ เช่น ภาวะข้อสะโพกขาดเลือด ทำให้หัวข้อสะโพกถูกทำลาย เนื้องอกกระดูก โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ หรือมีความผิดปกติของกระดูกอื่น ๆ เป็นต้น
ภายหลังการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนรักษาตัว เพื่อดูอาการ เป็นระยะเวลาประมาณ 4-8 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไป จะต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ขึ้นกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น มีโรคประจำตัวอย่างอื่นไหม เป็นต้น
ระยะเวลาในการฟื้นตัว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ของแต่ละคน โดยเฉลี่ยแล้ว ร่างกายของคนไข้จะสามารถฟื้นตัว ได้ภายใน 6-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดด้วย ในรายที่มีการผ่าตัดน้อย ๆ ผู้ป่วยอาจจะกลับมาเดินได้ปกติภายใน 1 วัน สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ เช่น การขับรถ ภายใน 6 สัปดาห์
มีรายงานการสำรวจว่า การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม มีอายุการใช้งานได้ 25 ปีขึ้น คิดเป็น 58% แต่โดยเฉลี่ยแล้ว 15 ปี หลังจากที่ผ่าตัดสะโพกเทียม ที่ทำจากโลหะ หรือพลาสติก จะเสื่อมสภาพลง
ดังนั้นในช่วง 10 ปีแรก ความสำเร็จจะอยู่ที่ราว ๆ 90-95% แล้วจะลดลงมาเรื่อย ๆ เหลือ 80-85% หลังจาก 20 ปีไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการผ่าตัดที่มีความสำเร็จค่อนข้างสูง และประสิทธิภาพมาก สามารถแก้ไขปัญหา ความเจ็บปวดได้ ทำให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ผู้ป่วย ควรระมัดระวังคือ การติดเชื้อที่แผล และการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เพราะอาจเป็น อันตรายถึงชีวิตได้
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ติดต่อเรียบร้อย