โรงพยาบาลศิครินทร์ ให้อะไรกับคนไข้บ้าง
โรงพยาบาลศิครินทร์ได้รับการรับรองมาตรฐานอะไรบ้างและมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกี่ท่าน
ที่Mor Dee, เราทำให้การได้รับข้อมูลและเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องง่าย. คุณสามารถ ค้นหา, เปรียบเทียบราคา, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, และ ทำการนัดหมาย สำหรับศัลยกรรมหรือการรักษาที่คุณสนใจได้ในที่เดียวกัน. เราทำให้คุณเข้าถึงสถานพยาบาลที่ดีที่สุดทั่วโลก, ให้คุณได้ประหยัดแรง ประหยัดเวลา ,และเป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย ฟรี, ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง, การันตี ไม่มีการบวกราคาเพิ่ม. แล้วคุณจะมัวรออะไร?
ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะเล็ก ๆ ที่อยู่ในช่วงท้อง มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี เพื่อช่วยย่อยอาหาร อยู่ติดกับตับ ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำดี สำหรับโรคที่จะเกิดกับถุงน้ำดี ก็มีมากมายหลายโรค โดยที่อันตรายมากก็จะเป็น โรคนิ่วในถุงน้ำดี (Cholecystectomy) ซึ่งโรคนี้ เกิดจากภาวะไม่สมดุล ของสารประกอบในน้ำดี ก่อให้เกิดนิ่ว และจะมีอาการ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ถ้าหากนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ก็จะทำให้เกิดอาหารเจ็บปวด เป็นอย่างมาก ที่สำคัญถ้านิ่วไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ ก็จะทำให้ผู้ป่วย มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง แต่สำหรับบางราย ตรวจพบว่าเป็นนิ่วในถุงน้ำดี แต่ไม่แสดงอาการได้เช่นกัน
นิ่วในถุงน้ำดี ไม่สามารถรักษา แบบใช้เครื่องสลายนิ่วได้ บางรายแพทย์ก็จะให้รับประทานยาเป็นเวลานาน แต่เมื่อหยุดยา ก็อาจจะกลับมาเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก โดยส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะแนะนำวิธีการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก จะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ในการตัดถุงน้ำดี ก็ไม่มีผลกระทบต่อการย่อยอาหาร เพราะน้ำดีสร้างมาจากตับ ถุงน้ำดีมีหน้าที่เพียงแค่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น
โดยทั่วไป หลังการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัว ในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน ก็สามารถที่จะกลับไปพักฟื้น ที่บ้านได้ สำหรับระยะเวลาในการพักฟื้น ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะใช้เวลาน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งการผ่าตัดแบบส่องกล้อง จะใช้เวลาในการฟื้นตัว เพียง 2 สัปดาห์ ก็สามารถที่จะ กลับไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ
ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัด นิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง จะมีโอกาสสำเร็จสูงถึง 90% และอาจจะมีแค่ 10% เท่านั้น ที่อาจจะต้องผ่าตัด แบบเปิดแผลหน้าท้อง เช่น ผู้ป่วยที่ภาวะถุงน้ำดีอักเสบ เฉียบพลันนานกว่า 3 วัน รวมไปถึงผู้ป่วย ที่มีโรคประจำตัว อาจจะมีโอกาส ที่จะผ่าตัดผ่านกล้อง ไม่สำเร็จ แพทย์จะเป็นคนพิจารณา ในแต่ละกรณี
ผู้ป่วยจะต้องระมัดระวัง และสังเกตผลข้างเคียง หลังการผ่าตัด ซึ่งอาจจะมีอาการแทรกซ้อน เกิดขึ้นได้ เช่น มีอาการบวมบริเวณผ่าตัด มีเลือดออก จะต้องรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ติดต่อเรียบร้อย