โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต ให้อะไรกับคนไข้บ้าง
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ตได้รับการรับรองมาตรฐานอะไรบ้างและมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกี่ท่าน
ที่Mor Dee, เราทำให้การได้รับข้อมูลและเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องง่าย. คุณสามารถ ค้นหา, เปรียบเทียบราคา, แลกเปลี่ยนความคิดเห็น, และ ทำการนัดหมาย สำหรับศัลยกรรมหรือการรักษาที่คุณสนใจได้ในที่เดียวกัน. เราทำให้คุณเข้าถึงสถานพยาบาลที่ดีที่สุดทั่วโลก, ให้คุณได้ประหยัดแรง ประหยัดเวลา ,และเป็นบริการที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย ฟรี, ไม่มีค่าธรรมเนียมแอบแฝง, การันตี ไม่มีการบวกราคาเพิ่ม. แล้วคุณจะมัวรออะไร?
ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องแพร่หลายที่ทุกคนมีโอกาสเผชิญหน้าได้ เนื่องจากสภาวะสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูจะสลับซับซ้อน ชวนให้รู้สึกกดดันมากกว่าสมัยก่อน จนเป็นบ่อเกิดของความเครียดหรือภาวะที่เกิดจากการวิตกกังวลในปัญหาต่างๆในชีวิต เชื่อว่าหลายๆคนเคยเป็นกันทั้งนั้น บางครั้งการก้าวผ่านช่วงเวลาที่ทรมานก็เป็นเรื่องยากเกินกว่าจะรับมือโดยลำพัง การขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงเป็นทางเลือกที่ดีและเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายแบบที่หลายคนเป็นกังวลแต่อย่างใด
จิตแพทย์ คือ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวช มีความเชี่ยวชาญด้านการวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยทางจิตใจ ภาวะที่เกิดจากความเครียด วิตกกังวล ทำหน้าที่พิจารณาให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจต่าง ๆ เช่น การตรวจเลือด การตรวจทางรังสีวิทยา เป็นต้น รวมทั้งทำการรักษา เช่น บำบัดด้วยการพูดคุยเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม สั่งจ่ายยา ใช้คลื่นไฟฟ้ากระตุ้นสมอง และประเมินว่าผู้ป่วยต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลหรือไม่ เป็นต้น
ยกตัวอย่างกลุ่มคนที่ไม่ได้มีอาการป่วย แต่ต้องการขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ เช่น กลุ่มคนทำงานที่มีความรู้สึกเครียด กังวล หรือไม่สบายใจบางอย่าง แล้วยังไม่สามารถหาคำตอบของความทุกข์ให้กับตัวเองได้ อาจจะลองไปพบกับจิตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นและหาทางเปลี่ยนแปลงอารมณ์เหล่านั้นให้กลับมาเป็นปกติได้
หรือในกลุ่มคนที่เริ่มมีพฤติกรรมแปลกไป โดยมีการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความจริงจนทำให้ประสิทธิภาพของตัวเองลดลงอย่างไม่มีสาเหตุ เช่น
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นของอาการป่วยทางใจที่ต้องรีบเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรักษา อย่าปล่อยให้อาการแย่ลงจากความกลัวหรือความอายที่เกิดขึ้นเพราะความเชื่อแบบเดิมๆ ที่ไม่เป็นความจริง
จิตแพทย์ยังสามารถช่วยรับฟังเรื่องต่างหรือปัญหาต่างๆและยังให้คำปรึกษา เยียวยาสภาพของจิตใจของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่างๆ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล ความสะเทือนใจจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ภาวะซึมเศร้า โรคกลัว ปัญหาในครอบครัวและปัญหาความสัมพันธ์ รวมทั้งช่วยบำบัดพฤติกรรมการใช้สารเสพติด รักษาโรคการกินผิดปกติ ปัญหาการนอนหลับ รวมไปถึงโรคทางจิตเวชทั้งหลาย เช่น โรคไบโพลาร์ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรคย้ำคิดย้ำทำ ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ เป็นต้น
1.ช่วยให้เกิดความเข้าในในตัวเองมากขึ้น
จิตแพทย์จะรับหน้าที่เป็นผู้รับฟังและเป็นกระจกสะท้อนถึงปัญหาที่เจอจากการสอบถามปัญหาในเชิงลึกเท่าที่จำเป็น ทำให้คุณสามารถมองเห็นความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น
2. ช่วยให้คุณได้ยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้น
การยอมรับปัญหาของชีวิตของตัวเองถืออุปสรรคขั้นแรกของการแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง ซึ่งการเข้าพบจิตแพทย์จะช่วยทำให้คนที่มองไม่เห็นถึงความรู้สึกทุกข์ของตนเองสามารถยอมรับถึงปัญหาที่มี และหาทางรับมือกับมันได้ดีมากยิ่งขึ้น
3. ช่วยทำให้คนรอบข้างเข้าใจในตัวผู้ป่วย
การเข้าพบจิตแพทย์ไม่ได้จำเป็นจะต้องไปคนเดียว การพาคนใกล้ชิดมาร่วมรับฟังด้วยก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจในความรู้สึกทุกข์ใจของผู้ป่วย พร้อมกับเรียนรู้วิธีการบำบัดและรักษาในแบบที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยทำให้อาการบรรเทาลงได้ง่ายกว่าการพยายามรักษาด้วยตัวเองเพียงคนเดียว
4. ช่วยทำให้อาการทุเลาลงได้จากการใช้ยา
หลายคนที่เข้าพบจิตแพทย์อาจจะได้รับการรักษาจากการใช้ยาร่วมด้วย ซึ่งการใช้ยาควบคู่ไปกับการบำบัดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่เป็นการปรับสมดุลการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถเตรียมพร้อมรับมือกับอาการของโรคทางใจที่มีได้ดีกว่าที่เคย
ความเครียดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะจากภาระงานที่หนักมากเกินไป, การเรียนที่หนักหน่วง การต้องเผชิญกับภาวะกดดันต่างๆ หลากหลายสาเหตุเหล่านี้ ทำให้ร่างกายมีความเครียดเกิดขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เรามีคำแนะนำเบื้องต้นให้คุณได้ผ่อนคลายกับปัญหาต่างๆของคุณ
1.สังเกตตัวคุรเองว่ามีอาการแบบนี้อยู่รึเปล่า เช่น อาการโมโหง่าย โกรธง่าย นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอน หงุดหงิด ซึมเศร้า รู้สึกอ่อนเพลีย พลังงานต่ำ เป็นต้น เหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้นที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังประสบกับภาวะเครียดอยู่
2.ระบายมันออกมาบ้างไม่ว่าเป็นเรื่องอะไร และขอกำลังใจและการสนับสนุนจากคนใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก การได้ระบายความรู้สึกของตัวเอง แทนที่จะเก็บไว้คนเดียว จะทำให้ภาวะตึงเครียดผ่อนคลายลง และรู้สึกดีขึ้น
3.หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง ออกไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจบ้าง ออกกำลังกายอย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาทีต่อวัน จะช่วยปรับอารมณ์และลดระดับความเครียดลงได้
4.หากเกินอาการรุนแรงขึ้นแนะนำให้พบจิตแพทย์
1.ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดจะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากความเครียดหรือภาวะวิตกกังวลได้ เช่น การนอนไม่หลับ การรับประทานยาเพื่อให้คุณได้นอนหลับพักผ่อน อย่างเพียงพอ
2.ฝึกสมาธิ ในกรณีที่รู้สึกแย่ในขั้นที่กินไม่ได้นอนไม่หลับ ให้หมั่นนั่งสมาธิ ฝึกจิตใจให้สงบ และเรียกคืนสติให้กับตัวเอง
3.ถ้าความรู้สึกซึมเศร้าถาโถมจนเกินจะรับได้ไหวอีกต่อไป ควรกันตัวเองออกจากปัจจัยที่ทำให้เศร้า เช่น พยายามไม่รับข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ดูรูปภาพหรือคลิปวิดีโอที่ดูกี่ครั้งก็ร้องไห้ และควรพักใจอยู่นิ่ง ๆ กับตัวเองสักพัก
4.พูดคุยกับคนรอบข้าง การระบายหรือพูดคุยให้กับคนรอบข้างได้รับฟัง หรือแสดงอารมณ์ให้คนรอบข้าง จะได้ไม่เก็บอารมณ์หรือความรู้สึกของตัวเองไว้กับตัว
5.รับประทานของที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยเข้าไปฟื้นฟูสภาวะร่างกายให้แข็งแรงและบรรเทาอาการจากความเครียดได้อีกด้วย
6.ทำกิจกรรมที่ให้ความผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย ออกไปเที่ยว เดินเขา ไปทะเล จะทำให้ฟื้นฟูจิตใจได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้คุณได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
7.ไปตามนัดตามที่แพทย์สั่งทุกครั้งเพื่อดูอาการและความเปลี่ยนแปลง
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ดูรายละเอียด
ติดต่อเรียบร้อย