Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม ใน จอมทอง, เชียงใหม่

การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม เป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาการอักเสบ และมีอาการปวด ส่งผลต่อการเดิน การเคลื่อนไหวลำบาก โดยการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมเข้าไป โรคนี้ส่วนใหญ่แล้ว จะพบในผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อสะโพกหัก กระดูกพรุน หกล้ม หรือที่มีภาวะข้อสะโพกเสื่อม อย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม โรคนี้ก็อาจพบในคนที่มีอายุน้อยได้ เช่น ภาวะข้อสะโพกขาดเลือด ทำให้หัวข้อสะโพกถูกทำลาย เนื้องอกกระดูก โรคข้อเข่าเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ หรือมีความผิดปกติของกระดูกอื่น ๆ เป็นต้น

การรักษาพยาบาล/ศัลยกรรมนี้เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง?

ข้อสะโพกเทียมประกอบด้วยกัน 3 ส่วนคือ ส่วนของหัวข้อ สะโพก (emoral head and stem) ส่วนที่ทดแทนเบ้าข้อสะโพก (acetabulum) และส่วนที่ทำหน้าที่ทดแทนกระดูกอ่อน (polyethylene)

โดยการผ่าตัดสะโพกเทียมนี้ สามารถทำได้ 2 แบบคือ

1. ผ่าตัดเปลี่ยนทั้งส่วนหัวและเบ้าข้อสะโพก (Total hip replacement) 

2. ผ่าตัดเปลี่ยนหัวข้อสะโพกเทียมอย่างเดียว (hemiarthroplasty)

ระยะเวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

ภายหลังการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนรักษาตัว เพื่อดูอาการ เป็นระยะเวลาประมาณ 4-8 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วยด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไป จะต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ขึ้นกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น มีโรคประจำตัวอย่างอื่นไหม เป็นต้น

ระยะเวลาในการฟื้นตัว ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ของแต่ละคน โดยเฉลี่ยแล้ว ร่างกายของคนไข้จะสามารถฟื้นตัว ได้ภายใน 6-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดด้วย ในรายที่มีการผ่าตัดน้อย ๆ ผู้ป่วยอาจจะกลับมาเดินได้ปกติภายใน 1 วัน สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ เช่น การขับรถ ภายใน 6 สัปดาห์

การดูแลหลังเข้ารับการรักษา/ศัลยกรรม?

ผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำ จากแพทย์ และพยาบาล ในการดูแลตัวเอง หลังจากที่ออกจากโรงพยาบาลแล้ว ดังนี้

1. มาพบแพทย์ ตามนัดหมายทุกครั้ง

2. คนในครอบครัว ควรช่วยเหลือดูแล ผู้ป่วยในระเวลาพักฟื้น

3. ควรมีราวกันตก บริเวณบันได และเวลาอาบน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้งาน สะดวกยิ่งขึ้น

4. ยกสะโพกให้สูง กว่าระดับหัวเข่า โดยการใช้หมอนรอง ใต้สะโพกขณะนั่ง

5. รับประทานอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ หรือรับประทานอาหาร ตามแผนที่แพทย์แนะนำ

6. ใช้ไม้เท้า หรือ เครื่องช่วยเดิน เวลาต้องเดิน ไปไหนมาไหน

7. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว ที่ไม่จำเป็น และเว้นจากการ ขึ้นลงบันได

8. พยามไม่ให้แผลโดนน้ำ โดยที่ไม่จำเป็น เพราะหากผ้าพันแผลเปียก อาจทำให้แผลติดเชื้อได้

9.  สามารถใช้น้ำแข็งเพื่อประคบ ลดอาการบวมได้

10. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว แบบเร็ว ๆ เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

 

มีอัตราความสำเร็จมากแค่ไหน?

มีรายงานการสำรวจว่า การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม มีอายุการใช้งานได้ 25 ปีขึ้น คิดเป็น 58% แต่โดยเฉลี่ยแล้ว 15 ปี หลังจากที่ผ่าตัดสะโพกเทียม ที่ทำจากโลหะ หรือพลาสติก จะเสื่อมสภาพลง 

ดังนั้นในช่วง 10 ปีแรก ความสำเร็จจะอยู่ที่ราว ๆ 90-95% แล้วจะลดลงมาเรื่อย ๆ  เหลือ 80-85% หลังจาก 20 ปีไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการผ่าตัดที่มีความสำเร็จค่อนข้างสูง และประสิทธิภาพมาก สามารถแก้ไขปัญหา ความเจ็บปวดได้ ทำให้ผู้ป่วย สามารถกลับมาดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ผู้ป่วย ควรระมัดระวังคือ การติดเชื้อที่แผล และการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน เพราะอาจเป็น อันตรายถึงชีวิตได้