Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

คลินิก / ร้าน อื่นๆ ที่มี การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
โรงพยาบาลกรุงเทพ
Mordee ห้วยขวาง, กรุงเทพมหานคร
3.76 จาก 5
466 รีวิว
2024 ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ทันตกรรม ศัลยกรรมตกแต่งความงาม ผ่าตัดรักษาโรคอ้วน รถรับ-ส่ง ที่สนามบิน ร้านกาแฟ ที่พักสำหรับครอบครัว
โรงพยาบาลกรุงเทพ (หรือที่รู้จักกันในนาม ศูนย์การแพทย์โรงพยาบาลกรุงเทพ) เป็นศูนย์รวมของกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ และเป็นหนึ่ง ในศูนย์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุด ของประเทศไทย ได้รับการรับรองจาก JCI เมื่อปี 2550 ให้บริการด้านการดูแลตติยภูมิ ศัลยกรรมความงาม และการทำทันตกรรม อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งได้รับความไว้วางใจ... อ่านต่อ
ดูทั้งหมด
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
ราคา ฿349,934 - ฿389,926

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ใน ห้วยขวาง, กรุงเทพมหานคร

อวัยวะในร่างกายของเรา มีมากมายหลายชิ้นด้วยกัน แต่ก็ถือว่าทุกส่วน ย่อมมีความสำคัญและจำเป็น ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างเช่น เข่า ก็เหมือนกัน ถึงแม้จะเป็นเพียงส่วนประกอบ ของร่างกายที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป แต่รู้หรือไม่ว่า ข้อเข่า มีบทบาทต่อการเคลื่อนไหว ของร่างกายมาก บางครั้งหลายคนอาจจะ มีพฤติกรรมในการใช้ข้อเข่า ที่ไม่เหมาะสม จนอาจจะทำให้ข้อเข่าเกิดภาวะเสื่อม ก่อนวัยอันสมควร

ข้อเข่า จะมีการเชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง โดยจะมีกระดูกอ่อนปกป้องไว้ และมีน้ำคอยหล่อลื่น ช่วยลดแรงกดกระแทก ขณะที่เราเคลื่อนไหว และเมื่อไร ที่มีการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อน นั่นก็จะเป็นสาเหตุหลัก ที่จะทำให้เข่าติดขัด จนเกิดการอักเสบ บวม และปวดขึ้นมาทันที ซึ่งเรียกว่า "ข้อเข่าเสื่อม"

สาเหตุหลักที่จะทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม ก็จะมี

  • อายุที่มากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบมากในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 50  ปีขึ้นไป
  • เพศ สำหรับเพศหญิง จะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน
  • น้ำหนักตัว เป็นสาเหตุสำคัญมาก เพราะยิ่งมีน้ำหนักตัวที่มาก ก็จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันในข้อเข่า ให้แบกรับน้ำหนักมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้กระดูกอ่อนผิวข้อเข่าชำรุด สึกหรอ และเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร
  • การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า เช่น จากการเล่นกีฬา บางประเภท เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล หรือการเกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่า ทำให้ความแข็งแรงลดน้อยลง 

การรักษาพยาบาล/ศัลยกรรมนี้เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง?

สำหรับปัจจุบัน ที่มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ล้ำสมัย ก็ได้มีสถานพยาบาลหลายแห่งด้วยกัน ที่สามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมได้ และทำได้หลายวิธี ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจาก อาการของแต่ละคน และความรุนแรง ถ้าอาการยังไม่รุนแรงมากนัก ก็อาจจะใช้วิธีการรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีเวลามีการเคลื่อนไหว แต่ถ้าหากมีอาการปวด ที่รุนแรงเรื้อรังมานาน ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วย ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เพื่อทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม

ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อม หลังจากนั้น วิสัญญีแพทย์จะมาแนะนำวิธีการระงับความรู้สึก ระหว่างการผ่าตัด ซึ่งจะมี 2 วิธี คือ การดมยาสลบ และการฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยวิธีที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ ของวิสัญญีแพทย์  การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม  เป็นการผ่าตัดเอาผิวข้อ ที่เสื่อมสภาพออกไป แล้วใส่ผิวข้อใหม่ซึ่งทำมาจาก วัสดุพิเศษทางการแพทย์ ที่มีความแข็งแรงทนทาน เข้าไปใส่แทน แพทย์จะต้องปรับความตึง หรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่ง ผิดรูป  ตำแหน่งของข้อเข่าที่ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดี หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้องพักฟื้นเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง เมื่อฟื้นตัวจากยาสลบ จึงจะทำการย้ายไปพักในห้องพักของผู้ป่วย ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น

  • ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัด
  • สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด ถ้าหากข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูปมาก ๆ ก็จะต้องใช้วิธีการบริหารข้อเข่า หลังผ่าตัดเพื่อช่วยฟื้นฟู
  • ความร่วมมือของผู้ป่วย หลังผ่าตัดในเรื่องของการทำกายภาพ หรือการบริหารข้อเข่า

 

ระยะเวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องอยู่รักษาตัว และติดตามดูอาการในโรงพยาบาล 5-7 วัน หลังการผ่าตัด โดยในช่วงแรก ๆ ของการผ่าตัด 

  • จะมีสายสวนปัสสาวะ เพื่อให้แพทย์สามารถคุมปริมาณของเลือด และน้ำในร่างกายผู้ป่วยได้ถูกต้อง
  • เข็มแทงที่เส้นเลือดดำ เพื่อเป็นการให้เลือด น้ำเกลือ และยาปฏิชีวนะ หลังการผ่าตัดใหม่ ๆ อาจจะมีอาการคลื่นไส้ จำเป็นที่จะต้องให้น้ำเกลือ
  • จะมีการให้ยาปฏิชีวนะ 1/2 - 1 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด และให้ต่อไปอีก 1-2 วันหลังการผ่าตัด
  • การผ่าตัดต้องตัดกระดูกและกล้ามเนื้อ อาจมีการเสียเลือดมาก จำเป็นจะต้องให้เลือดทดแทน
  • มีท่อดูดเลือดที่ต่อออกจากบริเวณผ่าตัด และจะใส่ท่อไว้จนเลือดบริเวณผ่าตัดหยุด ปกติก็จะประมาณ 2-3 วัน
  • หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการหายใจแรง ไอบ่อย  เพื่อให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น เป็นการป้องกันภาวะปอดบวม อาจจะมีการใส่เครื่องช่วยขยับเข่า (Continuous Passive Motion - CCPM) วันที่ 2-3 หลังการผ่าตัด แพทย์จะให้เริ่มบริหารเข่า และเริ่มลุกนั่ง-ยืน และหัดเดิน โดยจะมีนักกายภาพบำบัดคอยช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แผลผ่าตัดไม่มีอาการติดเชื้อ ก็สามารถกลับบ้านได้ ส่วนใหญ่จะใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน

การดูแลหลังเข้ารับการรักษา/ศัลยกรรม?

ข้อควรปฏิบัติและการดูแลหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

  1. พยายามให้ผู้ป่วยได้เดินบ้าง เท่าที่จะทนไหว หรือเท่าที่ไม่มีอาการปวด หรือบาดเจ็บ
  2. ถ้าหากมีน้ำหนักตัวเยอะ ก็ควรจะต้องลดน้ำหนักก่อน ค่อยเริ่มเดิน
  3. เฝ้าระวังการติดเชื้อในข้อเข่าหลังผ่าตัด เพราะข้อเข่าเทียมเป็นบริเวณที่ภูมิคุ้มกันเข้าไม่ถึง เมื่อมีการติดเชื้อจะรักษาได้ยาก ต้องหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ หากไม่สบายก็ต้องรีบไปพบแพทย์
  4. ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ของข้อเข่าเทียม คือ หัตถการเกี่ยวกับช่องปาก และทางเดินปัสสาวะ เมื่อไปพบทันตแพทย์หรือแพทย์ ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ จะต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ว่าเคยผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

มีอัตราความสำเร็จมากแค่ไหน?

ปัจจุบันพบว่า มากกว่า 90% ของผู้ป่วย ที่เข้ารับผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะรู้สึกดีขึ้น และมีอาการเจ็บปวดน้อยลง สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่ก็ยังจะต้องหลีกเลี่ยงบางกิจกรรม หลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม นั่นก็คือ กีฬาที่มีแรงกระแทก เช่น การวิ่ง กระโดด นอกจากนี้ก็จะเป็น การนั่งยอง ๆ การนั่งคุกเข่า ที่สำคัญ จะต้องหลีกเลี่ยงการนั่งส้วม แบบนั่งยอง ๆ โดยเด็ดขาด

จะมีแค่เพียง 2% เท่านั้นที่อาจจะมีการติดเชื้อของข้อเข่า หลังการผ่าตัดอย่างรุนแรง และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมไปถึงเกิดภาวะการก่อตัวของลิ่มเลือด ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุ ของการเกิดเส้นเลือดอุดตันที่ปอด และอาจจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ 

ในผู้ป่วย 80% พบว่าข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การใช้งานของข้อเข่าของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม สิ่งสำคัญผู้ป่วยจะต้องดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มมากขึ้น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เสี่ยงต่อข้อเข่า ไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ เช่น ไม่ปล่อยให้ตัวเองฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือเป็นแผลที่เล็บเท้า เพียงแค่นี้ ก็จะช่วยยืดอายุให้ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้