Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น ใน จอมทอง, เชียงใหม่

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Gastroscopy) คือ การส่องกล้อง เพื่อดูอวัยวะภายในร่างกาย เช่น กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ของคนไข้ เพื่อการวินิจฉัยโรค ว่ามีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น อุดตัน ตีบ เป็นแผลอักเสบ เลือดออก เส้นเลือดแตก อีกทั้งการส่องกล่อง สามารถตัดชิ้นเนื้อ ชิ้นเนื้องอก หรือมะเร็ง ออกจากส่วนล่าง ของกระเพาะอาหาร มาตรวจซ้ำ เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยาว่า แผลหายดีหรือไม่ 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่องกล้อง มีลักษณะเป็นสายนิ่ม ๆ เล็ก ๆ สอดเข้าไปทางปาก หรือบางครั้งส่องผ่านทวารหนัก เพื่อตรวจดูกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งตัวกล้องจะแสดงภาพออกทางจอทีวี และมีการบันทึกภาพเอาไว้ ซึ่งทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ

การรักษาพยาบาล/ศัลยกรรมนี้เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง?

การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้อง ตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น คนไข้จะต้องแจ้ง ให้แพทย์ทราบถึง โรคประจำตัวของตนเอง ยาและอาหารเสริม ที่รับประทาน แพทย์อาจสั่งให้คนไข้ หยุดยาที่รับประทานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะอาจส่งผล ต่อการตรวจรักษาได้ คนไข้จะต้องงดอาหาร 6-8 ชั่วโมง ก่อนการส่องกล้อง และงดน้ำและเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นเวลา 2-3 ชั่วโมง  ขั้นตอนการตรวจ คือ เมื่อมาถึงโรงพยาบาล คนไข้จะต้องถอดฟันปลอม และของมีค่าต่าง ๆ ออก คนไข้จะได้รับ การพ่นยาชา บริเวณลำคอ จนรู้สึกชา และหนาบริเวณคอ หลังจากนั้น คนไข้จะต้องนอ นบนเตียงตะแคงซ้าย งอเข่าทั้ง 2 ข้าง เข้าลำตัว แพทย์จะให้อมแผ่นยางไว้ เพื่อกันการกัดสายกล้อง ระหว่างการทำ คนไข้จะได้รับ การตรวจวัดออกซิเจน และวัดความดันทุก ๆ 5 นาที แพทย์จะใส่กล้องเข้าไปตรวจทางปาก โดยที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ ใช้เวลาในการตรวจเพียง 10-20 นาที เท่านั้น

ระยะเวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

การตรวจด้วยวิธีการนี้ ไม่จำเป็นต้องพักค้างคืน คนไข้สามารถกลับบ้านได้ ในวันเดียวกัน ระยะเวลาในการพักฟื้น จะแตกต่างกันไป ในคนไข้แต่ละคน ขึ้นอยู่กับประเภทของโรค และการรักษา ภายหลังการรักษาแล้ว คนไข้จะได้รับ การสังเกตอาการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากการตรวจรักษา อาจพบอาการท้องอืด และตะคริว ส่วนยาชาจะยังคงอยู่ตลอดทั้งวัน เมื่อยาชาหมดฤทธิ์แล้วคนไข้อาจมีความรู้สึกเจ็บคอ และระคายเคืองได้ ถือเป็นเรื่องปกติ

การดูแลหลังเข้ารับการรักษา/ศัลยกรรม?

การตรวจรักษาด้วยการส่องกล้องนี้ มีความเสี่ยงและมีผลข้างเคียง ดังนั้นคนไข้ควรดูแลตัวเอง ดังต่อไปนี้

1. คนไข้จะยังมีความรู้สึกชาตลอดทั้งวัน ถือว่าเป็นเรืองปกติ

2. ควรมีญาติหารือคนดูแลคนไข้ในช่วงเวลาพักฟื้น

3. ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แพทย์สั่ง เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว

4. รับประทานอาหารเหลว หรืออาหารอ่อน ๆ ที่มีรสชาติไม่จัดจ้านในช่วง 2-3 วันแรก

5. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

6. ห้ามขับรถเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

7. ห้ามใช้ยาระงับประสาท หรือกล่อมประสาทอื่น ๆ ภายหลังการตรวจรักษา เนื่องจากคนไข้ได้รับอยู่แล้ว ในระหว่างการตรวจรักษา

8. หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นบันไดหากมีอาการง่วงนอน

มีอัตราความสำเร็จมากแค่ไหน?

การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น  ใช้สำหรับเพื่อดูผนังกระเพาะอาหาร และเป็นการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคในเวลาเดียวกัน ความสำเร็จก็มีเกือบทั้งหมด แต่ก็สามารถพบปัญหา และในบางกรณีของการรักษา