Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ การส่องกล้องตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน (ERCP) ใน จอมทอง, เชียงใหม่

ERCP หรือ การส่องกล้อง ตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดี และตับอ่อน เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก เพื่อหาความผิกปกติ ของท่อทางเดินน้ำดีและตับอ่อน โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะทำการตรวจหาสาเหตุ ของโรคต่าง ๆ เช่น โรคดีซ่านอุดตัน ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัว และเนื้องอกในตับอ่อน เป็นต้น

 

การรักษาพยาบาล/ศัลยกรรมนี้เกี่ยวเนื่องกับอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการส่องกล้อง ตรวจรักษาท่อทางเดินน้ำดี และตับอ่อน (ERCP) มีดังนี้

  • แพทย์จะเริ่มฉีดยาชา ตามบริเวณที่ต้องการรักษา 
  • เมื่อผู้ป่วยเคลิ้มหลับ แพทย์จะใส่ท่อพลาสติก ไว้ในช่องปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร จนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำใส้เล็ก
  • หลังจากนั้น แพทย์จะฉีดสารทึบแสง ถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้ เมื่อพบสิ่งผิดปกติ เช่น นิ่ว ก็จะดึงนิ่วออก และหากพบว่ามีการอุดตันของท่อทางเดินน้ำดี หรือตับอ่อน แพทย์จะใส่ท่อระบายน้ำดีไว้

ระยะเวลาพักฟื้นนานแค่ไหน?

ภายหลัง ผู้ป่วยควรพักฟื้นร่างกาย อย่างน้อย 24 ชั่วโมง พร้อมงดอาหารและน้ำ เพื่อสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ หลังผ่าตัด ซึ่งอาการดังกล่าว ได้แก่ อาการเจ็บคอ ซึ่งผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารร้อน และควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ หลังผ่าตัดประมาณ 2-3 วัน และอาการดังกล่าวนั้น จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ และหายเองเป็นปกติ

การดูแลหลังเข้ารับการรักษา/ศัลยกรรม?

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้กำลัง เป็นเวลาหลายวันด้วยกัน และต้องปฏิบัติตาม คำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ในระหว่างการพักฟื้น แพทย์จะแนะนำ วิธีการดูแลตัวเองอีกด้วย

มีอัตราความสำเร็จมากแค่ไหน?

ECRP นับว่าเป็นขั้นตอนการรักษา ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก โดยอัตราเสี่ยงที่รักษาด้วยวิธีนี้ เกิดขึ้นเพียง 3.5-5% ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ หลังผ่าตัดได้

ผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัด ได้แก่ ถุงน้ำดีติดเชื้อ อาการของท่อน้ำดี มีเลือดออกมากเกินไป เนื้อเยื่อถูกทำลาย จากการได้รับรังสีเอกซ์ และอาการผิดปกติเมื่อได้รับยาระงับประสาท อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนั้น จะเกิดขึ้น 5-10% เท่านั้น และจะไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ ต่อผู้ป่วย เนื่องจากอาการจะดีขึ้นตามลำดับ