Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

Dollars sign จองกับเราไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
ค้นหาจากแผนที่

คลินิก / ร้าน อื่นๆ ที่มี

โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
โรงพยาบาลกรุงเทพ ภูเก็ต
Mordee เมืองภูเก็ต, ภูเก็ต
3.55 จาก 5
214 รีวิว
2024 ภาษาอาหรับ ภาษาจีน ภาษาเดนมาร์ก ผ่าตัดรักษาโรคอ้วน รังสีวินิจฉัย รักษาโรคหัวใจ ที่พักสำหรับครอบครัว ฟรี Wi-fi การประสานงานด้านประกันสุขภาพ
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลเอกชน ที่ใหญ่ที่สุดในภูเก็ต และภาคใต้ของประเทศไทย ให้บริการทางการแพทย์แบบครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นให้คำปรึกษาทางการแพทย์, ตรวจวินิจฉัยโรค การรักษา การผ่าตัดทั่วไป และการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน ด้วยอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ที่ใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัย อีกทั้... อ่านต่อ
ดูทั้งหมด
การตรวจหัวใจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์หรือเอคโค่
ราคา ฿4,799 - ฿4,999

Image result for โรคหัวใจ

หัวใจคนเรา มี 4 ห้อง แบ่งเป็น ห้องบน - ล่าง ด้านซ้าย-ขวา โดยมี ส่วนประกอบดัง ต่อไปนี้ 1. เยื่อหุ้มหัวใจ มีลักษณะ เป็นเยื่อ ใสๆ ห่อหุ้ม หัวใจไว้ 2. หลอดเลือดหัวใจ อยู่บริเวณ ภายนอกหัวใจ ซึ่งจะเป็น เส้นเลือด ที่แตกแขนง มี 2 เส้นใหญ่ หลัก ๆ คือ หลอดเลือด โคนารี ด้านซ้าย และด้านขวา 3. กล้ามเนื้อหัวใจ เป็นตัวที่ ทำหน้าที่ บีบเลือด ส่งไปเลี้ยง ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และขยายตัว เพื่อรับเลือด กลับสู่หัวใจ 4. ลิ้นหัวใจ และผนังกั้น ห้องหัวใจ ผนังของ กล้ามเนื้อหัวใจ จะเป็นตัว แบ่งหัวใจ เป็นห้อง ซ้าย-ขวา และลิ้นหัวใจ แบ่งห้องบน – ล่าง 4.ระบบ ไฟฟ้าหัวใจ ในหัวใจ จะมีกระแส ไฟฟ้า ที่ถูกสร้าง ขึ้นมาเอง ในหัวใจ จากห้องขวาบน มายังซ้ายบน และห้องล่าง เมื่อไฟฟ้าผ่าน จะกระตุ้น ทำให้ กล้ามเนื้อ หัวใจ บีบไล่เลือด เลือดจึงไหลเวียน เป็นระเบียบ

โรคหัวใจ หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ทำให้ การทำงาน ของหัวใจ ผิดเพี้ยนไป โรคหัวใจ ยังสามารถ แบ่งออกเป็น หลายชนิด อย่างเช่น โรคหัวใจ ขาดเลือด โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจ ในเด็ก หรือพิการ แต่กำเนิด และโรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ เป็นต้น

ในปัจจุบัน โรคหัวใจ เป็นโรค ที่คนเป็น กันมาก เนื่องจากการ ใช้ชีวิต ที่เร่งรีบ เคร่งเครียด ขาดการออกกำลังกาย การพักผ่อน ที่เพียงพอ และการ รับประทาน อาหาร ที่ไม่มี ประโยชน์ และมีรสเค็ม ก็ทำให้เกิด โรคหัวใจ ได้ง่าย และมากขึ้น เรื่อย ๆ ดังนั้น การป้องกัน โรคหัวใจ นั้นสามารถ ทำได้โดย การหลีกเลี่ยง ปัจจัยกระตุ้น ตามที่กล่าวมา คราวนี้ เราจะรู้ ได้อย่างไร ว่าเราเป็น โรคหัวใจ หรือป่าว จะมีการ สังเกต ดังนี้
 

อาการของ โรคหัวใจ

จะมีอาการ ต่างกันไป ตามชนิด ของโรคหัวใจ ดังนี้

  • โรคหัวใจ ขาดเลือด มักส่งผล ให้มีอาการ เจ็บแน่น หน้าอก ร้าวไปตามแขน กราม ลำคอ ท้อง และบริเวณหลัง ทั้งยังมี อาการ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือหมดสติได้
  • โรคลิ้นหัวใจอาการ ของโรคนี้ ส่วนมาก จะได้ยิน เสียงผิดปกติ จากการฟัง การเต้น ของหัวใจ บางคนอาจ ไม่มีอาการ หากเป็นน้อย ๆ แต่หากมี ความผิดปกติ ของลิ้นหัวใจมาก ก็จะมีอาการ หอบ เหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวาย หรือน้ำท่วมปอดได้
  • โรคหัวใจ พิการแต่กำเนิด เป็นโรคของ เด็กที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เริ่ม ตั้งครรภ์ อยู่ในท้องมารดา อาจแสดงอาการ ตอนแรกเกิด หรือแสดงอาการ มากขึ้น ในภายหลัง ก็ขึ้นอยู่กับ ความรุนแรง ของโรค แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่มที่ มีอาการเขียว และกลุ่มไม่มี อาการเขียว ในกลุ่มที่มี อาการยัง ไม่รุนแรงมาก อาจสังเกตได้ ในภายหลัง เช่น เด็กจะมี อาการเหนื่อยง่าย ใช้แรงหรือ ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อเทียบกับ เด็กคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน สำหรับกลุ่ม ที่มีอาการมาก เด็กจะเลี้ยงไม่โต เด็กมีอาการ เหนื่อยขณะ ให้นม หรือติดเชื้อ ทางเดินหายใจ บ่อย ๆ เป็นต้น
  • โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ มักมีอาการ ผิดปกติ ของจังหวะ การเต้น ของหัวใจ อาจเต้นช้า ผิดปกติ เต้นเร็วผิดปกติ หรือเต้น ไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้ รู้สึกใจสั่น แต่บางครั้ง อาจแสดงอาการ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้าย จะเป็นลม รู้สึกหัวใจ กระตุก สะดุด วิว หรือวูบได้เช่นกัน

สาเหตุของ โรคหัวใจ

  • โรคหัวใจ ขาดเลือด สาเหตุหลักๆ มากจากการ กินอาหาร ที่มีไขมัน หรือแคลเซียม ที่สะสม มากขึ้นเรื่อย ๆ ในหลอดเลือด จนขัดขวาง ทางเดินเลือด ทำให้เลือด ไปเลี้ยง กล้ามเนื้อหัวใจ บางส่วน ไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิด เส้นเลือด หัวใจตีบ พอเลือด ไปเลี้ยงหัวใจ ไม่พอ ทำให้ ตายเป็นบางส่วน สาเหตุจาก โรคที่มี ความเสี่ยง เช่น โรคไขมัน ในเลือดสูง โรคความดัน โลหิตสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ และเครียด เป็นต้น
  • โรคลิ้นหัวใจ มักเกิดขึ้น มาตั้งแต่ กำเนิด แต่มักมา แสดงอาการ ภายหลัง หรือไม่ก็ เป็นโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น เยื่อบุหัวใจ อักเสบ หรือเนื้อเยื่อ เกี่ยวพัน ผิดปกติ และไข้รูมาติก เป็นต้น
  • โรคหัวใจพิการ แต่กำเนิด อาจเกิดขึ้น จากภาวะ แทรกซ้อน ในการตั้งครรภ์ ของแม่ที่ทำให้ ทารกคลอดก่อนกำหนด การใช้สารเสพติด หรือยาบางชนิด ขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อ ของมารดา ระหว่างตั้งครรภ์ รวมถึงกรรมพันธ์ เป็นต้น
  • โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ เกิดขึ้น กับใครก็ได้ ทั้งในคน ที่มีหัวใจ ปกติ หรือ อาจเป็นผู้ ที่มีความผิดปกติ ของหัวใจอยู่ มีสาเหตุ อาจเกิดจาก ความเครียด การผ่าตัด การวางยาสลบ การถูก ไฟฟ้าช็อต การใช้สารเสพติด ยาหรือ อาหารเสริมบางชนิด แอลกอฮอล์ และกาแฟ ยังพบโรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ มาจาก โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ และโรคที่ เป็นปัจัย กระตุ้น เช่น โรคไทรอยด์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น


การวินิจฉัย โรคหัวใจ

  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่า การทำงาน ของอวัยวะ ต่างๆ ในร่างกาย
  • การตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อดูจังหวะ การเต้นของหัวใจ สามารถบอก โรคได้ เช่น โรคหัวใจ เต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ ขาดเลือด โรคเยื้อหุ้ม หัวใจ บางชนนิด
  • การเอ็กซเรย์ ทรวงอก เพื่อดูเส้นเลือด และหัวใจ ว่ามีหัวใจโต หรือเส้นเลือด หัวใจตีบ หรือไม่ หรือมีน้ำท่วมปวด หรือหัวใจ ล้มเหลวไหม
  • การเอคโค่ หรืออัลตราซาวน์ หัวใจ เพื่อดูโครงสร้าง ของหัวใจ ทั้งหมด ว่ามีส่วนไหน ผิดปกติ หรือไม่ และดู การทำงาน ของหัวใจ เพื่อดูประสิทธิภาพ ในการบีบเลือด ไปเลี้ยง อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
  • การทำ MRI เพื่อดู ความผิดปกติ ที่ไม่สามารถ มองเห็นได้ ด้วยวิธีอื่น อย่างเช่น หลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อ หัวใจบางชนิด ซึ่งจะเห็น ได้ชัดที่สุด
  • การบันทึก การทำงาน ของหัวใจ เพื่อตรวจว่า มีหัวใจ เต้นผิดจังหวะ แบบไหน และจำนวน เท่าไหร่ เพื่อง่ายต่อการ ตัดสินใจรักษา
  • การฉีดสี หลอดเลือด หัวใจ เพื่อดูว่า มีส่วนไหน ในเส้นเลือดหัวใจ ตีบหรือไม่ และหากมี เจอว่าส่วนไหนตีบตัน ก็จะสามารถ ทำการรักษา ด้วยการ ใส่บอลลูน โดยทันที

การรักษา โรคหัวใจ

การรักษา โรคหัวใจ จะเป็นไป ตามโรคที่ ตรวจพบ อย่างเช่น

  • การใช้ยา ยามีหลายชนิด ด้วยกัน ให้ผล แตกต่าง กันไป ยาบางตัว จะช่วย ลดการ ทำงานหนัก ของหัวใจ และบางตัว ก็ช่วยทำให้ หัวใจสูบฉีดเลือด ได้ดีขึ้น
  • การใช้สายสวน เพื่อใส่บอลลูน ขยายหลอดเลือด เพื่อรักษา โรคหัวใจตีบ และโรคหัวใจ ขาดเลือด เพื่อให้เลือด ไหลเวียน ได้ดีขึ้น และผู้ป่วย จะต้องทานยา ไปตลอดชีวิต
  • การผ่าตัด ทำบายพาส หัวใจ สำหรับ คนที่เป็นโรค เส้นเลือด หัวใจตีบ จนไม่สามารถ ขยายเส้นเลือด ด้วยบอลูน ได้แล้ว
  • การผ่าตัด เปลี่ยนลิ้น หัวใจโดยการ เปิดหน้าอก สำหรับ ผู้ที่มี ลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ
  • การสวนจี้ รักษาภาวะ หัวใจ เต้นผิดจังหวะ สำหรับคน ที่หัวใจ เต้นผิดจังหวะ ที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ ด้วยยา และไม่สามารถ รับกับผล ข้างเคียง ของยาได้
  • การใส่เครื่อง กระตุ้นหัวใจ สำหรับ ผู้ที่มีหัวใจ เต้นช้า และค่า การทำงาน ของหัวใจน้อย
  • การใส่เครื่อง กระตุกหัวใจ สำหรับ ผู้ที่มี หัวใจห้องล่าง เต้นเร็ว ผิดปกติ จนสามารถ ทำให้เกิด การเสียชีวิตกระทันหันได้

ยังรวมไปถึง การควบคุม โรคที่เป็น ปัจจัยเสี่ยง เช่น ไขมัน ในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน การสูบบุหรี่ ความเครียด และการหมั่น ออกกำลังกาย การบริโภค อาหารโดยลดอาหาร ที่มีรสเค็ม อาหาร รสหวาน และอาหาร ที่มีไขมันสูง

การป้องกัน โรคหัวใจ

โรคหัวใจ เป็นโรคที่ สามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยน พฤติกรรม การใช้ชีวิต โดยการ หมั่นออกกำลังกาย การรับประทาน อาหารที่มี ไขมันต่ำ อย่างเช่น พืชผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดปริมาณโซเดียม ไขมัน และน้ำตาล ในอาหาร การกำจัด ความเครียด ด้วยการ นั่งสมาธิ สวดมนต์ ทำโยคะ ควบคุมโรค ที่เป็น ให้อยู่ในระดับปกติ เช่น โรคความดัน โลหิตสูง โรคเบาหวาน และไขมัน ในเลือดสูง หยุดสูบบุรี่ และควบคุม น้ำหนัก เพียงเท่านี้ เราก็จะห่างไกล จากโรคหัวใจ และอยู่กับคน ที่เรารักไป ได้อีกนาน

A cultured alternative to the west coast beach resorts. Phuket Town is renowned for having good restaurants, cafes and large night markets.