Mordee

ส่วนลด โปรโมชัน และ ดีลพิเศษ ด้านทันตกรรมและความงาม

ซื้อคูปองส่วนลดเพื่อจองใช้บริการ จัดฟันสวย ฉีดโบท็อกซ์ เสริมความงาม และศัลยกรรมอื่น ๆ มากมายใกล้คุณ

ค้นหาจากแผนที่
บีอีคิว คลินิก สยามสแควร์วัน
บีอีคิว คลินิก สยามสแควร์วัน
บีอีคิว คลินิก สยามสแควร์วัน
บีอีคิว คลินิก สยามสแควร์วัน
บีอีคิว คลินิก สยามสแควร์วัน
Mordee ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ฟื้นฟูสภาพผม เสริมความงาม เวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ
บีอีคิว คลินิก
บีอีคิว คลินิก
บีอีคิว คลินิก
บีอีคิว คลินิก
บีอีคิว คลินิก
Mordee บางรัก, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ฟื้นฟูสภาพผม โรคผิวหนัง เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ที่จอดรถ
เบสท์ คลินิกทันตกรรม
เบสท์ คลินิกทันตกรรม
เบสท์ คลินิกทันตกรรม
เบสท์ คลินิกทันตกรรม
เบสท์ คลินิกทันตกรรม
Mordee บางบอน, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ ทีวี
บอดี้เชพ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
บอดี้เชพ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
บอดี้เชพ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
บอดี้เชพ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
บอดี้เชพ สาขาเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว
Mordee จตุจักร, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม เสริมความงาม โรคผิวหนัง ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ ตู้เซฟ
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
Mordee บางรัก, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
6 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ร้านกาแฟ ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์
บีเอฟซี เด็นทัล กรุ๊ป
บีเอฟซี เด็นทัล กรุ๊ป
บีเอฟซี เด็นทัล กรุ๊ป
บีเอฟซี เด็นทัล กรุ๊ป
บีเอฟซี เด็นทัล กรุ๊ป
Mordee บางนา, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ร้านกาแฟ ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์
บอดี้เชพ สยามพารากอน
บอดี้เชพ สยามพารากอน
บอดี้เชพ สยามพารากอน
บอดี้เชพ สยามพารากอน
บอดี้เชพ สยามพารากอน
Mordee ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ
เซเลบริตี้ คลินิก สยาม
เซเลบริตี้ คลินิก สยาม
เซเลบริตี้ คลินิก สยาม
เซเลบริตี้ คลินิก สยาม
เซเลบริตี้ คลินิก สยาม
Mordee ปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม โรคผิวหนัง เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ
“Celebrity Clinic” สถาบันเสริมความงามที่ยึดหลักการแพทย์และศิลปะเข้าไว้ด้วยกัน สมดุล กลมกลืน และมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยเป็นหลักสำคัญที่สุด เราจะไม่แนะนำการทำศัลยกรรมหรือการเสริมความงามที่มีความเสี่ยง หรืออาจเกิดผลเสียต่อผู้เข้ารับบริการ เราใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่นำเข้า... อ่านต่อ
Boonlada Clinic
Boonlada Clinic
Boonlada Clinic
Boonlada Clinic
Boonlada Clinic
Mordee บางแค, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย เสริมความงาม ฟื้นฟูสภาพผม
โบนีต้า เอ็กซ์คลูซีฟ เซ็นทรัลพระราม 3
โบนีต้า เอ็กซ์คลูซีฟ เซ็นทรัลพระราม 3
โบนีต้า เอ็กซ์คลูซีฟ เซ็นทรัลพระราม 3
โบนีต้า เอ็กซ์คลูซีฟ เซ็นทรัลพระราม 3
โบนีต้า เอ็กซ์คลูซีฟ เซ็นทรัลพระราม 3
Mordee ยานนาวา, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย เวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ ทีวี
ชาเมอร์คลินิก สาขาอุดมสุข
ชาเมอร์คลินิก สาขาอุดมสุข
ชาเมอร์คลินิก สาขาอุดมสุข
ชาเมอร์คลินิก สาขาอุดมสุข
ชาเมอร์คลินิก สาขาอุดมสุข
Mordee บางนา, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
7 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม มะเร็งวิทยา โรคผิวหนัง ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ที่จอดรถ
ซีสไมล์ คลินิกทันตกรรม ยูเนี่ยนมอลล์
ซีสไมล์ คลินิกทันตกรรม ยูเนี่ยนมอลล์
ซีสไมล์ คลินิกทันตกรรม ยูเนี่ยนมอลล์
ซีสไมล์ คลินิกทันตกรรม ยูเนี่ยนมอลล์
ซีสไมล์ คลินิกทันตกรรม ยูเนี่ยนมอลล์
Mordee จตุจักร, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
8 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม
คิวตี้วีว่า คลินิก สาขาเดอะวันพาร์ค
คิวตี้วีว่า คลินิก สาขาเดอะวันพาร์ค
คิวตี้วีว่า คลินิก สาขาเดอะวันพาร์ค
คิวตี้วีว่า คลินิก สาขาเดอะวันพาร์ค
คิวตี้วีว่า คลินิก สาขาเดอะวันพาร์ค
Mordee จตุจักร, กรุงเทพมหานคร
4 จาก 5
4 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม เสริมความงาม โรคผิวหนัง ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ โทรศัพท์
เดนทัลแคร์ แอทวังหิน
เดนทัลแคร์ แอทวังหิน
เดนทัลแคร์ แอทวังหิน
เดนทัลแคร์ แอทวังหิน
เดนทัลแคร์ แอทวังหิน
Mordee ลาดพร้าว, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
4 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ที่จอดรถ
ศูนย์ทันตกรรม เด็นทัล แคร์
ศูนย์ทันตกรรม เด็นทัล แคร์
ศูนย์ทันตกรรม เด็นทัล แคร์
ศูนย์ทันตกรรม เด็นทัล แคร์
ศูนย์ทันตกรรม เด็นทัล แคร์
Mordee บางเขน, กรุงเทพมหานคร
4.43 จาก 5
7 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ร้านกาแฟ ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์
คลินิกทันตกรรมแบริ่งสกายเทรน
คลินิกทันตกรรมแบริ่งสกายเทรน
คลินิกทันตกรรมแบริ่งสกายเทรน
คลินิกทันตกรรมแบริ่งสกายเทรน
คลินิกทันตกรรมแบริ่งสกายเทรน
Mordee บางนา, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
8 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ร้านกาแฟ ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์
ดีมอร์คลินิก
ดีมอร์คลินิก
ดีมอร์คลินิก
ดีมอร์คลินิก
ดีมอร์คลินิก
Mordee จตุจักร, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ โทรศัพท์
เดสทิเนชั่น บิวตี้
เดสทิเนชั่น บิวตี้
เดสทิเนชั่น บิวตี้
เดสทิเนชั่น บิวตี้
เดสทิเนชั่น บิวตี้
Mordee สาทร, กรุงเทพมหานคร
4.5 จาก 5
1 รีวิว
2024 ภาษาไทย ศัลยกรรมตกแต่งความงาม ผ่าตัดรักษาโรคอ้วน ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ ทีวี
ดีวาน่า คลินิก
ดีวาน่า คลินิก
ดีวาน่า คลินิก
ดีวาน่า คลินิก
ดีวาน่า คลินิก
Mordee บางรัก, กรุงเทพมหานคร
5 จาก 5
6 รีวิว
2024 ภาษาไทย โรคผิวหนัง ศัลยกรรมตกแต่งความงาม เสริมความงาม ฟรี Wi-fi ห้องพักสำหรับผู้ใช้วีลแชร์ ที่จอดรถ
Dr.mod คลินิกทันตกรรม
Dr.mod คลินิกทันตกรรม
Dr.mod คลินิกทันตกรรม
Dr.mod คลินิกทันตกรรม
Dr.mod คลินิกทันตกรรม
Mordee ลาดกระบัง, กรุงเทพมหานคร
4.75 จาก 5
8 รีวิว
2024 ภาษาไทย ทันตกรรม ฟรี Wi-fi ที่จอดรถ

โรคซึมเศร้าคืออะไร

โรคซึมเศร้าคืออะไร ทำไมถึงเป็นโรค เพราะสำหรับคนส่วนมากอาจนึกว่าเป็นเพียงเรื่องซึมเศร้าที่มักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวัง หรือการสูญเสียมากกว่าที่จะเป็นอาโรค ซึ่งตามจริงแล้ว ความรู้สึกทางลบที่เราพบกันในเป็นส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกธรรมดาๆ ที่มีกันในชีวิตประจำวัน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเรื่องที่เราประสบมา แต่ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นอยู่กับเราเป็นอยู่นานโดยไม่มีทีท่าว่าจะมีอาการที่ดีขึ้น หรือเกิดความเศร้าขั้นรุนแรง มีอาการต่างๆ ติดตามมา เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก นอนหลับๆ ตื่นๆ หมดความสนใจต่อโลกภายนอก หรือแม้กระทั่งไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ก็อาจจะเข้าข่ายได้ว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว

โรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นหรือหายขาด ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติที่เมื่อเผชิญเหตุการณ์ทางลบต่างๆ แล้วเมื่อเวลาผ่านไปความรู้สึกเศร้าคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย ดังนั้น คนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า เป็นผู้ที่อ่อนแอหรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา คิดมาก เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม โรคซึมเศร้าก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมหายเป็นปกติและพร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ดังเดิม

สาเหตุและอาการของโรคซึมเศร้า

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าที่พบกันบ่อยคือ การมีทั้งความเสี่ยงทางพันธุกรรม, สภาพจิตใจ และสถานการณ์เลวร้ายที่เคยเผชิญมาพิจารณาร่วมกันทั้ง 3 ปัจจัย

  1. โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความเครียด ซึ่งอาจเกิดในคนที่ไม่มีญาติเคยป่วยด้วยโรคนี้มาก่อนก็เป็นได้ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมีของเซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์
  2. สภาพทางจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู ก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงที่สำคัญอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้า โดยมากมักเกิดขึ้นในคนที่ขาดความภูมิใจในตนเอง ที่มองตนเองและมีทัศนคติกับสิ่งต่างๆในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น
  3. การเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย เช่น หากในชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ส่งผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง หรือมีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นกับคนใกล้ชิด หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้าได้

อาการของโรคซึมเศร้า

  • คนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะรู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
  • รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
  • ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต
  • น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้น ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  • กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
  • คิดถึงแต่ความตาย และอยากที่จะฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยการบำบัด และการรับประทานยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนองต่อการรักษาอาการของโรคซึมเศร้าไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ในขณะที่บางคนเพียงแค่การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ส่วนการรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม และการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องเข้าพักที่โรงพยาบาลแต่อย่างใดยกเว้นเเมื่ออาการของโรคกำเริบขั้นรุนแรง และทำให้มีมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ในบางกรณีอาจทำการรักษาด้วการกระตุ้นด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น

1. การรักษาทางจิตใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

มีวิธีรักษาทางจิตใจอยู่หลายรูปแบบ ในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเป็นการพูดคุยกับจิตแพทย์ ตั้งแต่ 10 ครั้งขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจกับสาเหตุของปัญหาได้มากขึ้น และนำไปสู่การแก้ไขปัญหา โดยการแลกเปลี่ยนมุมมองกับจิตแพทย์ ซึ่งการรักษาทางพฤติกรรมในลักษณะดีงกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้วิธีที่จะได้รับความพอใจ หรือความสุขจากการกระทำของเขา และพบวิธีที่จะหยุดพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าในภายหลัง

การรักษาโรคซึมเศร้าแบบที่สองคือการรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม โดยการรักษารูปแบบแรกมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาระหว่าง ผู้ป่วยกับคนรอบข้างที่อาจ เป็นสาเหตุและกระตุ้นให้เกิดความซึมเศร้า ส่วนการรักษาแบบหลังจะช่วยให้ผู้ป่วยเปลี่ยนความคิด และพฤติกรรมในแง่ลบกับตนเอง

ส่วนการรักษาอีกหนึ่งวิธีที่ได้ผลพอสมควรก็คือ การนำทฤษฎีจิตวิเคราะห์มารักษาโรคนี้ โดยวิธีดังกล่าวช่วยผู้ป่วยค้นหาปัญหาข้อขัดแย้งภายในจิตใจผู้ป่วย ซึ่งอาจมีปมมาจากประสบการณ์ตั้งแต่เด็ก โดยทั่วไปสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรง มีอาการกำเริบซ้ำๆ จะต้องการการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจควบคู่กัน เพื่อผลการรักษาในระยะยาวที่ดีที่สุด

2. รักษาโรคซึมเศร้าด้วยการใช้ยา

ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ

  • กลุ่ม tricyclic 
  • กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors หรือ MAOI
  • กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)

ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียทางการรักษาที่ต่างกัน แต่ให้ผลลัพธ์ในการรักษาเท่าเทียมกัน แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูปฏิกิริยาตอบสนอง เนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่า ผู้ป่วยคนใดจะสามารถรับยาชนิดใดได้บ้าง เมื่อผลออกมาในทางที่ดีขึ้นแล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป

ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล ซึ่งเป็นการรักษาโรคโดยตรง โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น จึงทำให้รักษาไม่หายขาด ดังนั้นข้อปฏิบัติที่สำคัญที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้หยุด ถึงแม้ว่าเราจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตามยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว ไม่ต้องกังวลว่า ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ

สิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงก็คือ การซื้อยากินเองจากร้านขายยาหรือกินยาอื่นๆปนกับโรคซึมเศร้าโดยที่ไม่ได้ปรึกาาจิตแพทย์ เช่นยานอนหลับหรือยาลดความกังวล เพราะไม่ใช่ยาที่สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้ เป็นเพียงแค่ยาที่ช่วยให้อาการทุเลาลงชั่วคราวเท่านั้น ทางที่ดีในการรักษาโรคซึมเศร้าโดยใช้ยาคือไม่ควรใช้ยากระตุ้นประสาทเพื่อหวังผลให้อาการดีขึ้นเพียงชั่วคราว

ค่ารักษาโรคซึมเศร้า

เมื่อเรารู้สึกว่ากำลังเป้นโรคซึมเศร้า สามารถไปรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกทางจิตเวชใกล้บ้าน ซึ่งการพบจิตแพทย์แต่ละครั้ง อาจจะมีทั้งในส่วนของการรับฟังให้คำปรึกษาไปจนถึงการจ่ายยา ซึ่งค่ารักษาโรคซึมเศร้าของโรงพยาบาลรัฐจะครอบคลุมสิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรคและสิทธิ์ประกันสังคม แต่ถ้าคุณไม่มีสิทธิ์ก็จะมีค่ารักษา ค่าปรึกษาจิตแพทย์จะอยู่ที่ประมาณ 350-500 บาทต่อชั่วโมง และค่ายาที่ตกประมาณครั้งละ 800-1,000 บาท ถ้าเป้นโรงพยาบาลเอกชนราคาจะอยู่ระหว่าง 1,500-6,000 บาท และถ้ายาหมดก็ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับยาเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อนำค่ายาออกมาแบ่งเป็นรายเดือนเดือนอาจอยู่ที่เดือนละ 5,000-8,000 บาทหรือมากกว่า

โรควิตกกังวล

ถือเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีความแตกต่างจากความวิตกกังวลทั่วไปเป็นอย่างมาก ซึ่โดยที่ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตได้ออกมาเผยแพร่ว่า คนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลเป็นภาวะความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากอย่างที่เข้าใจกัน      

ผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวลสามารถสันนิษฐานได้จากภาวะความวิตกกังวลมากจนเกินไป ซึ่งสาเหตุของโรคนี้เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ หรือความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ การเลี้ยงดู หรือการเลียนแบบพฤติกรรมจากผู้ปกครองหรือคนใกล้ชิด และการประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ โรควิตกกังวลที่มักพบได้บ่อยจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)

คือเกิดความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ครอบครัว  งาน  สุขภาพ ความรัก โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกวิตกแบบเดิมมาเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 6 เดือน ไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ อาจทำให้เกิดความอ่อนเพลีย กระวนกระวาย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด และนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท หากมีอาการลักษณะนี้ ควรเข้าไปพบแพทย์เพื่อหาแนวทางรักษาต่อไป

โรคตื่นตระหนก (Panic Disorder)

หรือโรคตื่นตระหนก คือเกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ ตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือตาย มีอาการเจ็บป่วยนิดหน่อยก็กลับมีความกังวล เช่น กลัวว่าจะเป็นโรคร้าย ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วไม่ได้ป่วยทางกายแต่ป่วยทางจิตต่างหาก อาการโรควิตกกังวลเกินเหตุ อาจเกิดเป็นพักๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบ แน่นหน้าอก วูบเหมือนจะเป็นลม อาการแบบนี้อาจทำให้เสียสุขภาพจิตและอาจนำไปสู่ภาวะอื่นๆ ได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ติดสารเสพติด เป็นต้น

โรคกลัวสังคม (Social Phobia)

คือความวิตกกังวลที่จะต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าต้องถูกจ้องมอง มีความวิตกไปล่วงหน้าว่าเราจะทำอะไรที่น่าอาย จึงทำให้ต้องต้องคอยหลบ หรือรู้สึกประหม่าเวลาอยู่ในสังคม และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว ที่น่าสนใจ คือโรคนี้มักแอบแฝงอยู่ในตัวบุคคลที่ดูเป็นปกติสุขดี มองดูภายนอกร่างกายก็สมบูรณ์แข็งแรงดี และไม่มีทีท่าว่าจะป่วยแต่อย่างใด สาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากระบบการทำงานของสมอง พันธุกรรม การเลี้ยงดู หรือขาดทักษะการเข้าสังคม

โรคกลัวกับสิ่งเฉพาะ (Phobia)

คือความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่อง บางสิ่งบางอย่างแบบเจาะจง เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวรู กลัวสุนัข เป็นต้น แม้ว่าจะรู้สึกกลัวไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ พยายามจะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งที่ตัวเองกลัว ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมาหากอยู่ในสถานการณ์จำเพาะเจาะจง เช่น ใจสั่น หน้ามืด มือ-เท้าเย็น อาจทำให้ใจสั่น หายใจลำบาก เหงื่อออก เป็นต้น

โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder)

ความวิตกกังวลที่เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ แม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก แต่ทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย ซึ่งอาการย้ำคิดย้ำทำแบบนี้กลับพบบ่อยในคนวัยทำงาน เช่น คิดว่าลืมล็อคประตูบ้านต้องเดินกลับไปดูว่าล็อคหรือยัง คิดว่าลืมปิดก็อกน้ำต้องกลับไปเช็คอีกครั้ง เป็นต้น

อาการของโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลหรือตื่นกลัวอาจมีอาการกำเริบขึ้นเมื่อมีสิ่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกกลัวอย่างฉับพลัน ซึ่งอาการมักคงอยู่ได้หลายนาทีจนถึงครึ่งชั่วโมง โดยสถานที่หรือสถานการณ์บางอย่างสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการกำเริบได้ในบางคน และอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อนก็ได้ นอกจากนี้ การมีอาการวิตกกังวลกำเริบบ่อยๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคหวาดระแวงได้

โรควิตกกังวลแต่ละประเภทมีอาการเด่นที่แตกต่างกันออกไป คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคในกลุ่มนี้ก็ต่อเมื่อพบว่ามีความกลัวต่อเหตุการณ์ สถานที่ หรือสิ่งของใดๆ ที่ปกติไม่ได้ทำให้เกิดอันตราย โดยอาการที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็สังเกตได้จากการมีความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาเป็นอย่างน้อย 6 เดือน 

ผู้ป่วยโรควิตกกังวลส่วนใหญ่มักมีอาการทั้งทางกายและทางจิตร่วมกัน ซึ่งอาการที่สามารถพบได้ร่วมกันในโรควิตกกังวลทุกประเภทก็คืออาการกลัวหรือกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง

อาการทางจิตอื่นๆ ของโรควิตกกังวล ประกอบด้วย

  • รู้สึกหวาดหวั่นหรือกลัว
  • รู้สึกกระสับกระส่ายหรืออยู่ไม่สุข
  • รู้สึกเครียดและตื่นตกใจง่าย
  • หวาดระแวง มองหาสัญญาณของอันตรายตลอดเวลา

อาการทางกายที่แสดงออกมาเมื่อเกิดโรควิตกกังวล ประกอบไปด้วย

  • หัวใจเต้นเร็วหรือแรง
  • หายใจลำบาก
  • เหงื่อออกมาก
  • มีอาการสั่น
  • ปวดหัว
  • อ่อนเพลียหรืออ่อนแรง
  • นอนไม่หลับ
  • คลื่นไส้หรือท้องไส้ปั่นป่วน
  • ปัสสาวะบ่อย หรือท้องเสียบ่อย

การรักษาโรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลสามารถรักษาให้หายได้ และมีทางเลือกในการรักษาหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและประเภทของโรควิตกกังวลที่เป็น คุณอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกันหรือลองเข้ารับการรักษาหลายๆ วิธี จนกว่าจะพบวิธีที่เหมาะกับคุณมากที่สุด 

การรักษาโรควิตกกังวลแบ่งเป็น 3 วิธีหลักๆ ดังนี้

1. การใช้ยา ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาโรควิตกกังวลมียาหลายประเภทที่สามารถใช้รักษาโรคนี้ได้ โดยมักใช้ร่วมกับการทำจิตบำบัด กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรควิตกกังวลทั่วไป คือ

ยาคลายกังวล (Anxiolytics) เช่น ยากลุ่ม Benzodiazepine

ยาต้านเศร้า (Antidepressants)

2. การทำจิตบำบัด การทำจิตบำบัดที่มักนำมาใช้รักษาโรควิตกกังวลคือการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดหรือรูปแบบพฤติกรรมที่เป็นปัญหา (Cognitive behavioral therapy: CBT) ผ่านการพูดคุยกับนักบำบัดที่ผ่านการอบรมมาแล้ว เพื่อเรียนรู้วิธีคิดในแง่บวกและการจัดการกับความกลัว ความกังวล รวมถึงอาการอื่นๆ ร่วมกับนักบำบัด นอกจากนั้นผู้ป่วยจะได้เรียนรู้การระบุและจัดการกับปัจจัยที่เป็นต้นเหตุให้เกิดความกังวลด้วย ซึ่งการรักษาด้วยการทำจิตบำบัดอาจรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดที่เป็นอันตราย ทำให้คุณมีอาการวิตกกังวลน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป รวมถึงเรียนรู้วิธีการผ่อนคลาย เช่น การฝึกหายใจเข้าลึกๆ เพื่อช่วยลดอาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีการรักษา CBT อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Exposure therapy ซึ่งเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวบางชนิด โดยแพทย์จะค่อยๆ ให้คุณเผชิญกับสถานการณ์หรือสิ่งของที่กลัวทีละน้อย เพื่อให้เกิดความคุ้นชินและช่วยให้ความกลัวลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่การรักษาด้วยการทำจิตบำบัดต้องใช้เวลานาน โดยอาจใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ถึงจะเริ่มเห็นประโยชน์จากการเข้าบำบัด และผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้ยารักษาโรควิตกกังวลไปพร้อมๆ กันด้วย 

3. ธรรมชาติบำบัด เป็นการรักษาด้วยวิธีตามธรรมชาติที่อาจใช้ร่วมกับการใช้ยาและการทำจิตบำบัดเพื่อรักษาโรควิตกกังวล ตัวอย่างการรักษาทางเลือกเหล่านี้ เช่น

  • ฝึกทำสมาธิ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พบว่าการทำสมาธิ โดยเฉพาะการฝึกสติเพื่อลดความเครียด (Mindfulness-based stress reduction) สามารถช่วยลดอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าได้
  • ออกกำลังกายและเล่นโยคะเป็นประจำ การเล่นโยคะเป็นการรวมเอาการจัดวางท่าทางของร่างกาย การหายใจ การออกกำลังกาย และการทำสมาธิเข้าไว้ด้วยกัน โดยมีการศึกษาบางชิ้นที่แนะนำว่าการเล่นโยคะ หรือการออกกำลังกายอื่นๆ เช่น วิ่งหรือเดินเป็นประจำ มีประโยชน์ในการช่วยลดอาการวิตกกังวลได้
  • การฝังเข็ม มีงานวิจัยบางชิ้นแนะนำว่าการฝังเข็มสามารถช่วยลดอาการของโรควิตกกังวล โดยวิธีนี้อาจใช้ได้ผลมากขึ้นเมื่อทำร่วมกับการรักษาวิธีอื่น เช่น การทำจิตบำบัด

ค่ารักษาโรควิตกกังวล

ค่ารักษาโรควิตกกังวลส่วนใหญ่จะอยู่ในอัตราที่เท่ากับหรือใกล้เคียงค่ารักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งคุณสามารถไปรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกทางจิตเวชใกล้บ้าน โดยการพบจิตแพทย์แต่ละครั้ง อาจจะมีทั้งในส่วนของการรับฟังให้คำปรึกษาไปจนถึงการจ่ายยาให้นำไปรับประทาน ค่ารักษาโรควิตกกังวลของโรงพยาบาลรัฐจะครอบคลุมสิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรคและสิทธิ์ประกันสังคม แต่ถ้าคุณไม่มีสิทธิ์ก็จะมีค่ารักษา ค่าปรึกษาจิตแพทย์จะตกอยู่ที่ประมาณ 350-500 บาทต่อชั่วโมง และค่ายาที่ตกประมาณครั้งละ 800-1,000 บาท ถ้าเป้นโรงพยาบาลเอกชนราคาจะอยู่ระหว่าง 1,500-6,000 บาท และถ้ายาหมดก็ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรับยาเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อนำค่ายาออกมาแบ่งเป็นรายเดือนเดือนอาจอยู่ที่เดือนละ 5,000-8,000 บาทหรือมากกว่า

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร

คงเป็นที่ทราบกันดีว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจในระดับ ประชาคมอาเซียน จุดเด่นของกรุงเทพฯ นอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีศาสนสถานที่สวยงาม, อาหารริมทาง หรือ street food, การคมนาคมที่สะดวกสบาย, ห้างสรรพสินค้า, ตลาด รวมถึงยังมีสถานพยาบาลชั้นนำต่าง ๆ ที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐ, คลินิก, และโรงพยาบาลเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล JCI (Joint Commission International Accreditation) ทำให้กรุงเทพฯนอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นที่สุด เป็นจังหวัดที่มีคนเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุด ยังมีแนวโน้มในการขยายตัวกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอีกด้วย ซึ่งโรงพยาบาลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ คือ โรงพยาบาลศิครินทร์ โรงพยาบาลกมล เป็นต้น ซึ่งมีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาทำศัลยกรรมความงามเป็นจำนวนมากในแต่ละปี


สถานที่ยอดนิยมในกรุงเทพมหานคร

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่รู้จักกันในนาม วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พร้อม ๆ กับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งอยู่ ในเขตพระบรมมหาราชวัง หากใครได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ ก็ตามจะต้องแวะไปกราบ พระแก้วมรกต สักครั้งเพื่อความเป็นสิริมงคล
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา พระปรางค์วัดอรุณฯ นับเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ ที่รู้จักกันทั่วโลก เพราะฉะนั้นถ้ามาถึงกรุงเทพฯ ก็คงต้องแวะมาชมความสวยงามของพระปรางค์วัดอรุณฯ เช่นเดียวกัน
เยาวราช นับเป็นอีกย่านที่น่าเที่ยว เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งชุมชนของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนแล้ว ยังจัดว่าเป็นย่านธุรกิจ และคึกคักตลอดทั้งวัน ในปัจจุบันคนจะนิยมมาเที่ยวเยาวราชกันช่วงกลางคืน เพราะจะมีสตรีทฟู้ดร้านเด็ดมากมายที่น่าไปลิ้มลองชิมดูสักครั้ง
นอกเหนือจากนี้ ยังมีสถานที่อื่น ๆที่เป็นที่นิยมที่ไม่ควรพลาด เช่น สยามสแควร์, ถนนข้าวสาร, ตลาดนัดจตุจักร, เอเชียทีค เป็นต้น


การเดินทางในกรุงเทพมหานคร

การคมนาคมในกรุงเทพฯ ถือว่ามีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก ทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ และยังมีระบบขนส่งสาธรารณะที่ได้มาตรฐานและทันสมัย การเดินทางและการท่องเที่ยวจึงทำได้ง่ายแม้ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว เช่น รถแท็กซี่ รถเมล์ รถจักรยานยนต์รับจ้าง รถตุ๊กตุ๊ก รถไฟ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน และ เรือโดยสาร เป็นต้น


 ประชากรหรือผู้คนในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย มีหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งยังมีประชาชนจากต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงาน รวมถึงยังมีชาวต่างชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก ทำให้คนกรุงเทพฯอาจมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากกว่าส่วนอื่นในประเทศไทย

สภาพภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยอยู่ภายใต้ อิทธิพลของลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ มีอากาศร้อนทั้งปีและยังมีอุณหภูมิที่หลากหลายอีกด้วย มี 3 ฤดูกาลที่แตกต่างกัน ได้แก่ ฤดูร้อนจะเป็นช่วงเดือนมีนาคมและเมษายน, ฤดูฝน จะอยู่ในช่วงราว ๆ กรกฎาคมจนถึงตุลาคม และช่วงที่มีอากาศเย็นจะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม

อื่นๆ

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในกรุงเทพฯ กำลังเป็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มีความเจริญก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้น จึงมีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับโลก และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มากมาย ที่จบมาจากต่างประเทศ มีประการณ์ที่ยาวนาน ทำให้มีนักท่องเที่ยวหรือผู้คนในประเทศไทยเองเดินทางเข้ามาทำการรักษา หรือทำศัลยกรรมกับโรงพยาบาลและคลีนิคต่างๆในกรุงเทพฯ เป็นอย่างมากนั่นเอง